รถกวาดตะปูเรือใบ

ลักษณะการใช้
1. กวาด-เก็บตะปูเรือใบ
2. ดับเพลิง
3. มีระบบไฮดรอลิกเพื่อยกล้อในการ ถอด เปลี่ยน ล้อ อะไหล่
4. มีปั๊มลมเพื่อการเติมลม และอุปกรณ์เพื่อซ่อมรอยรั่วของยาง

ชุดกวาด-เก็บตะปูเรือใบ
     – มีใบแปรงสำหรับกวาดเก็บตะปูเรือใบอยู่ทางด้านหน้ารถโดยมีขนาดความกว้างการ กวาดในแนวระนาบไม่น้อยกว่า 2200 มิลลิเมตร
     – ใบแปรงสำหรับกวาดเก็บตะปูเรือใบทำด้วยโพลีโพรพิลินหรือลวดสปริงโดย มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 10 นิ้ว
     – มีกะบะสำหรับเก็บตะปูเรือใบพร้อมลิ้นกันตกและสามารถถอดออกมาเพื่อเทตะปู ทิ้งได้ง่าย
     – ชุดกวาด-เก็บตะปูเรือใบ สามารถยกขึ้นลงได้ด้วยระบบไฮดรอลิก หรือนิวแมติก

ชุดดับเพลิงพร้อมเครื่องยนต์
     – มีปั๊มดับเพลิงขนาด 2”พร้อมเครื่องยนต์เป็นต้นกำลังสามารถสตาร์ทด้วยระบบปุ่มกด สตาร์ทจากห้องโดยสาร
     – มีหัวสำหรับฉีดน้ำดับเพลิงติดตั้งอยู่บนเก๋งโดยหัวฉีดดับเพลิงสามารถหมุนได้ ไม่น้อยกว่า 180° โดยมีปุ่มบังคับจากภายใน ห้องคนขับ
     – หัวฉีดน้ำดับเพลิงสามารถปรับองศาได้ ตั้งแต่ 0° ถึง 45°โดยการควบคุม การทำงาน จากภายใน คนขับ
     – มีสายดับเพลิง ขนาดไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว ความยาวไม่น้อยกว่า 20เมตรพร้อมหัว ฉีดดับเพลิงอีก 1 ชุด
     – มีถังสำหรับบรรจุน้ำ ขนาด 2” ความยาว 6 เมตร ปริมาตรความจุไม่น้อยกว่า 3000 ลิตร รูปทรงตามมาตรฐานผู้ผลิต
     – มีอุปกรณ์สายดูดน้ำ เพื่อดูดน้ำจากภายนอก ลงถังพร้อมกรองป้องกันสิ่งสกปรก

ขาค้ำยันยกรถ
     – มีขาค้ำยันทั้งหมด 4 ชุด ข้างหน้า 2 ชุด ข้างหลัง 2 ชุด เพื่อยกล้อให้พ้นจากพื้นเพื่อการถอด-เปลี่ยนล้อ อะไหล
     – ขาค้ำยันทั้ง 4 ชุด ยกขึ้นลงด้วยระบบไฮดรอลิก โดยมีระบบคอนโทรล 2 ชุดข้างหน้า 1 ชุด ข้างหลัง 1 ชุด

ปั๊มลมและถังลมเพื่อการเติมลม
– มีปั๊มลมและถังลมพร้อมเครื่องยนต์เพื่อใช้กับอุปกรณ์ บล็อคลม ถอดล้อ และเติมลม
– ถังลมมีความจุไม่น้อยกว่า 200 ลิตร

กว้าน
     – มีกว้านระบบไฮดรอลิกติดตั้งอยู่ทางด้านท้ายพร้อมสายสลิงมีความยาว ไม่น้อยกว่า 40 เมตร
     – สายสลิงมีขนาดไม่น้อยกว่า 9 มิลลิเมตร
     – มีขาค้ำยันเพื่อป้องกันรถถอยในขณะปฏิบัติงานลากกว้าน

รูปทรง
    ตามมาตรฐานผู้ผลิต

ความเป็นมา
ตามข่าวที่ได้รับจากสื่อต่างๆในปัจจุบัน เกี่ยวกับเหตุการณ์ร้ายแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกี่ยวกับการไล่ล่าผู้ก่อความไม่สงบ พบอุปสรรคใหญ่ ในการขัดขวางการไล่ล่า ของเจ้าหน้าที่ ดังนี้คือ

1.การโรยตะปูเรือใบ
2.การตัดต้นไม้ขวางทาง
3.การจุดไฟเผายางขวางถนน
4.การลอบยิง
5.การวางระเบิดไว้ที่ถนน

ด้วยเหตุนี้จึงได้มีผู้ผลิต รถกว าดตะปูเรือใบ ออกมามากมายหลายหน่วยงาน รวมทั้งนักวิชาการก็ได้ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปกรณ์มากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์ทั้งสิ้น แต่ก็เกิดปัญหาดังนี้

1.ไม่มีการระดมความคิดหรือประชุมร่วมกันระหว่างนักวิชาการกับผู้ผลิต
2.ต่างคนต่างทำ หรือพวกใครพวกมัน จึงมีแต่นายหน้าแต่หาอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพไม่ได้
3.ขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐ ในเรื่องงบประมาณ
4.ภาครัฐขาดบุคลากรที่มีไหวพริบอย่างมากๆ ที่ค้นหาผู้ที่มีความเข้าใจ หรือผู้ที่ชำนาญเฉพาะด้าน
5.อุปกรณ์กวาดตะปูเรือใบที่ใช้ ยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง

ปัญหาต่างๆที่กล่าวมา ข้าพเจ้าได้ติดตามข่าวสารมาตลอด และก็ได้พิจารณาอยู่ และเห็นว่าน่าจะนำเสนออุปกรณ์ของห้างฯ ซึ่งได้คิดขึ้นมา เพื่อเป็นทางเลือกอีก ทางหนึ่ง ให้ท่านได้พิจารณาตามวิจารณญาณ และตามหลักการ เผื่อท่านจะได้ต่อยอดความคิด
ส่วนปัญหาทางด้านของตัวบุคคล บุคลากร หรือ การระดม ความคิด (BRAIN STORM) ข้าพเจ้าไม่ขอเอ่ยถึง

เหตุผลกับความมั่นใจในการผลิตอุปกรณ์
1. ทางห้างฯ เป็นผู้ผลิต รถกวาดถนนชนิดลากจูงที่ใช้ในงานโยธา ตามมาตรฐาน กรมทางหลวง 2. ทางห้างฯเป็นผู้ผลิตใบแปรงสำหรับกวาดถนนทุกชนิด ทั้งใบแปรงที่ทำด้วยลวดสปริงและทำด้วยพลาสติก
3. ทางห้างฯเป็นผู้ผลิต รถกวาด-ดูดฝุ่น ให้กับหน่วยงานราชการ และเอกชน จนเป็นที่ยอมรับในวงการอย่างกว้างขวาง
4. ทางห้างฯ มีความชำนาญเฉพาะด้านและดูแลอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมบำรุงให้กับหน่ายงานราชการและเอกชน

แนวคิดและรูปแบบ ของผู้ผลิตและนักวิชาการที่น่านำเสนอในปัจจุบัน    
ใช้ระบบแม่เหล็กดูด

**** ทางห้างฯขอให้ลืมระบบนี้ไปได้เลยด้วยเหตุผล****      

ลักษณะการโรยตะปูเรือใบไม่ได้โรยกระจัดกระจายเสมอไปและไม่ได้โรยจำนวนน้อย บางทีโรยเป็นกลุ่มเป็นก้อน

ปัญหาและสผลที่ตามมารวมทั้งตัวแปรต่างๆ
      ระยะห่างระหว่างแผ่นแม่เหล็กกับพื้นถนนจะต้องอยู่ในระดับ ที่สามารถจะดูดถึง ซึ่งอยู่ที่ระยะห่างจากพื้นถนนไม่เกิน 3 cm

ข้อชวนคิด
     1. กรณียางของรถอ่อนหรือแข็งระยะห่างระหว่าง แม่เหล็กกับพื้นถนนก็ไม่แน่นอน
     2. จำนวนผู้โดยสารก็เป็นตัวแปร
     3. การเติมน้ำมันเชื้อเพลิงก็เป็นตัวแปร
     4. ความเร็วของรถก็เป็นตัวแปร ลองเอาแม่เหล็ก ผ่านหน้าตะปูไปอย่าช้าๆ กับผ่านไปอย่างเร็วจะดูดไม่ทันหรือไม่ติด
     5. การสั่นสะเทือนระหว่างการเดินทาง จะทำให้ตะปูตัวนอกสุดที่อยู่ห่างจากแผ่นแม่เหล็กหลุด และไปทิ่มที่ล้อ
     6. สมมุติข้าพเจ้าเป็นผู้ผลิตตะปูเรือใบเอง ข้าพเจ้าจะใช้โลหะที่แม่เหล็กดูดไม่ติด เช่น  สแตนเลส ทองเหลือง อัลลอยด์ หรืออื่นๆ

ข้อสรุป ไม่มีการใช้ระบบแม่เหล็กเด็ดขาด
 ใช้ระบบการกวาด

     1.การกวาดทิ้ง
     2. การกวาดเก็บ

  1. การกวาดทิ้ง ใช้ได้แต่มีผลตามมา
    1.1 เนื่องจากเป็นการกวาดทิ้ง และเป็นการกวาดจากศูนย์กลาง ออกไปทางด้านข้าง สิ่งที่ตามมาคือ
         –  เมื่อใบแปรงกระทบกับตะปูเรือใบด้วยลักษณะการหมุนเหวี่ยง ทำให้ตะปูกระเด็นออกทางด้านข้างด้วยความเร็วสูง
             ซึ่งอาจกระเด็นไปถูกผู้ที่สัญจรไปมาทางด้านหัวรถ หรือ อาจไปรวมกันอยู่ที่เลนของรถฝั่งตรงข้าม เป็นผลทำให้รถที่
             สวนมา ถูกตะปูเรือใบหรือเป็นอันตราย ขณะที่ขบวนเดินทางกลับในเลนฝั่งตรงข้าม
    1.2 ผู้ก่อการไม่สงบอาจเก็บนำมาใช้ใหม่ได้
  2.  การกวาดเก็บ มีประสิทธิภาพที่สูงสุด
             2.1  แปรงกวาดแนวนอนมีความกว้างมากกว่า ความกว้างของล้อรถที่ไล่ล่า
              2.2 แปรงกวาดสัมผัสพื้นโดยตลอดเวลา เพราะลงโดยน้ำหนักของแปรงเอง
              2.3  มีกะบะเก็บโดยมีลิ้นกันตก **ซึ่งสามารถเก็บตะปูเรือใบได้ 100%

นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เพิ่มประสิทธิภาพดังนี้
1. ชุดอุปกรณ์ตัดต้นไม้
2. ชุดดับเพลิง
3. ปั๊มลมเพื่อการถอดเปลี่ยนล้อโดยรวดเร็ว
4. ชุดวินซ์เพื่อการลากจูง หรือกู้ภัย

  – ซึ่งรถกวาดตะปูเรือใบ อเนกประสงค์นี้ ทางห้างฯได้สร้างสรรค์ขึ้นมาจากการติดตามข่าวสารถึงอุปสรรคที่พบระหว่างการไล่ลา
    – สุดท้าย เพื่อป้องกันการโจมตีจากทางด้านข้าง และด้านหน้า ทางห้างฯ สามารถเพิ่มแผ่นโพลีคาร์บอเนตใส อย่างหนา
       เพื่อป้องกันการโจมตีด้วย อาวุธปืน ซึ่งแผ่นโพลีคาร์บอเนต สามารถป้องกันกระสุนปืนได้ระดับหนึ่งและสามารถลดอันตราย
       จากหนักเป็นเบาได้ระหว่างเดินทางก็ ส่วนการป้องกัน อันตรายจากระเบิด บริเวณใต้ท้องรถ สามารถใส่แผ่นโพลีคาร์บอเนต
       พร้อมโชคอัพเพื่อรับแรงระเบิด จากด้านใต้ท้องรถได้ ก็สามารถลดอันตรายที่จะเกิดขึ้น นี้เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งซึ่งทาง        ห้างฯขอยืนยันว่าสามารถผลิตได้จริงและมีประสิทธิภาพที่สุด

รถกวาดตะปูเรือใบ